สมุนไพรไทย ช่วยลดคอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันพอกตับ และอื่นๆ ดังนั้นการลดคอเลสเตอรอลจึงเป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้ายเหล่านี้ตั้งแต่ต้น นอกจากจะต้องลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันเลวเป็นจำนวนมากแล้ว การรับประทาน

คอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันพอกตับ และอื่นๆ ดังนั้นการลดคอเลสเตอรอลจึงเป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้ายเหล่านี้ตั้งแต่ต้น นอกจากจะต้องลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันเลวเป็นจำนวนมากแล้ว การรับประทานพืชสมุนไพรไทยดีๆ ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้เป็นอย่างดี ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรลอง เพราะนอกจากสมุนไพรเหล่านี้จะให้กลิ่น และรสชาติที่ดีแล้ว ยังราคาถูก และหาซื้อทานได้ง่ายอีกด้วย

สมุนไพรไทย ช่วยลดคอเลสเตอรอล

1. กระเทียม

กลิ่นฉุนๆ ของกระเทียม เมื่อทำมาประกอบอาหาร จะให้รสชาติที่จัดจ้านถึงใจ และเป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน กระเทียมช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทานสดๆ หรือนำไปประกอบอาหารกลีบโตๆ แต่ทานมากระวังจะมีกลิ่นปาก และกลิ่นตัวได้

2. หอม

เคียงคู่มากับกระเทียม ก็คือ หอม ไม่ว่าจะเป็นหอมแดง หรือหอมหัวใหญ่ ต่างก็ช่วยลดคอเลสเตอรอล สลายไขมัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง บรรเทาอาการหวัด ภูมิแพ้ หอบหืด และช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี

3. กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงช่วยเพิ่มระดับไขมันดี ลดไขมันเลวในเลือดให้ลดลง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ช่วยทำให้ชุ่มคอ และคลายร้อนได้ดี

4. เสาวรส

เสาวรสช่วยลดไขมันในเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แก้อาการนอนไม่หลับ รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอุดมไปด้วยวิตามินซี จึงช่วยป้องกันหวัดได้อีก

5. ขิง

ขิงเป็นสมุนไพรไทยที่มีรสเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการสลายของไขมัน และลดคอเลสเตอรอลได้เป็นอย่างดี สามารถทานสดๆ หรือนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเอาก็ได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และคลื่นไส้อาเจียนได้

6. ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย เป็นสมุนไพรที่เรามักเห็นอยู่ในรูปแบบของชา และอาหารเสริมลดน้ำหนักชนิดต่าง ๆ ก็เพราะว่าสรรพคุณของดอกคำฝอยนั้น ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดนั่นเอง ในดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือด และจะถูกขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงทำให้ไขมันในร่างกายเราลดน้อยลง

7. ไมยราบ           

ต้นไมยราบที่ใครหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแค่วัชพืชนั้น ความจริงแล้วเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางยาอยู่มากทีเดียว ได้แก่ แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาอาการหลอดลมและกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เราสามารถนำต้นไมยราบมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นเลยค่ะ โดยนำมาต้มกับน้ำ ใช้จิบบำรุงร่างกายได้เหมือนเครื่องดื่มประเภทชา

โรคไขมันในเลือดสูงมีผลข้างเคียงอย่างไร?

ภาวะที่มีระดับกลุ่มไขมัน LDL สูงถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัว ใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์/อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการที่ไขมันไปทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัวซึ่งเรียกว่า Atherosclerosis (โรคหลอดเลือดแดงแข็ง) ความเสี่ยงเหล่านั้นได้แก่

  1. ผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
  2. มีประวัติพ่อหรือพี่น้องผู้ชายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) ที่อายุน้อยกว่า 55 ปี หรือมีแม่หรือญาติผู้หญิงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดที่อายุน้อยกว่า 65 ปี
  3. เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิต ≥ 140/90 มิลลิเมตร-ปรอท
  4. สูบบุหรี่
  5. มีไขมัน HDL ต่ำกว่า 40 mg/dl แต่ถ้า HDL ≥ 60 mg/dl ให้ลบความเสี่ยงข้างต้น (ถ้ามี) ออก 1 ข้อ เพราะกลุ่มไขมัน HDL ถือว่าเป็นกลุ่มไขมันที่ดีที่ช่วยยับยั้งการเกิดหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว

ดังนั้นการที่จะบอกว่าบุคคลใดมีระดับไขมันในเลือดสูงที่จะต้องรักษา ก็ต้องดูว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงใดบ้าง ถ้าไม่มีความเสี่ยงเลยหรือมีความเสี่ยงเพียง 1 ข้อ ค่าระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่มากกว่า 160 mg/dl ถือว่ามีไขมันในเลือดสูง แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปค่าระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่มากกว่า 130 mg/dl จะถือว่ามีไขมันในเลือดสูง แต่ถ้าเป็นโรคเบาหวานหรือเคยเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมาแล้ว ค่าระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่มากกว่า 100 mg/dl ก็ถือว่าสูงแล้ว

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :Honestdocs

สินค้าที่คุณอาจสนใจ